การทำนา
การทำนา หมายถึง
การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว
การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ
และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว
ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ
และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี
เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน
ปัจจัยในการทำนา สำหรับการทำนาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว
และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ
1. สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ )
และภูมิอากาศ
2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา
*** ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมของทุกปี
ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป
ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง
สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้
หลักสำคัญในการทำนา : การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน
1. การไถดะ
เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ
หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา)
เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน
และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด
การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ
1 - 2 สัปดาห์
2. การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว
การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่
และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง
จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ
ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
3. การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา
และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว
ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม
ดูแลการให้น้ำ
การปลูก ข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง
ได้แก่ การทำนาหยอดและนาหว่าน และ การเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน
แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่ การทำนาดำ การทำนาหยอด
เป็นวิธีการปลูกข้าวที่อาศัยน้ำฝน หยอดเมล็ดข้าวแห้ง ลงไปในดินเป็นหลุมๆ
หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาดินมีความชื้นพอเหมาะ
เมล็ดก็จะงอกเป็นต้น นิยมทำในพื้นที่ข้าวไร่
หรือนาในเขตที่การกระจายของฝนไม่แน่นอน แบ่งเป็น 2 สภาพ
ได้แก่
- นาหยอดในสภาพข้าวไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มักเป็นที่ลาดชัน เช่น
ที่เชิงเขาเป็นต้น ปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินได้
จึงจำเป็นต้องหยอดข้าวเป็นหลุม
- นาหยอดในสภาพที่ราบสูง เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาหรือหุบเขา การหยอดอาจหยอดเป็นหลุมหรือใช้เครื่องมือหยอด
หรือโรยเป็นแถวแล้วคราดกลบ นาหยอดในสภาพนี้ให้ผลผลิตสูงกว่านาหยอดในสภาพไร่มาก
การหว่านข้าวแห้ง
ทำนาหยอด แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ
การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย
จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ
เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก
การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสม่ำเสมอ
การหว่านไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน
แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง
เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน
การหว่านข้าวงอก
(หว่านน้ำตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำท่วมขัง
เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้
การเพาะข้าวทอดกล้า ทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง
ไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง
แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดน้ำเรื่อยไป
อย่าให้ข้าวแตกหน่อ แล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว
วิธีการการปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
การใส่ปุ๋ย ข้าวที่ปลูกในช่วงฝนแล้ง
เป็นการปลูกข้าวล่าช้ากว่าฤดูกาลมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยช่วยเร
่งให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตได้เต็มที่
จึงจะทำให้ได้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับการทำนาดำตามฤดูกาลปกติ
-การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ในพื้นที่ดินเหนียวให้ใส่ปุ๋ยสูตร
16-20-0, 18-22-0 หรือ 20-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่งในอัตราไร่ละ
25 กก. ในดินทรายให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตราไร่ ละ 25 กก. โดยใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 5-6
วัน
-การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว
40-45 วัน โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือแอมฮมเนียมคลอไรด์
ไร่ละ 25-30 กก. หรือปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 10-15 กก. ในการใส่ปุ๋ยควรจะคำนึงถึงว่าดินจะต้องเปียกแฉะหรือมีน้ำขังไม่ควรเกิน
20 เซ็นติเมตร ถ้าหากดินแห้งหรือระดับน้ำมาก กว่านี้
ให้เลื่อนการใส่ปุ๋ยออกไปมิฉะนั้นจะทำให้การใช้ปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพ
เกิดการสูญเสียปุ๋ย ทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ย ไม่พอเพียง ผลผลิตจะต่ำ
การทำนาดำ เป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง
แล้วย้ายไปปลูกในที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำ วัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2
ขั้นตอน คือ
การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร
นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก
ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20
- 30 วัน
การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ
ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ
ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่
เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ
การเก็บเกี่ยว หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ
20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก
เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป
จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกประมาณ 10 วัน
ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง
คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลือง กลางรวงเป็นสีตองอ่อน
การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก
และมีคุณภาพในการสี หลังจากตากข้าว ชาวนาจะขนเข้ามาในลานนวด
จากนั้นก็นวดเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง บางแห่งใช้แรงงานคน บางแห่งใช้ควายหรือวัวย่ำ
แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องนวดข้าวมาช่วยในการนวด
การเก็บรักษา
1. เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 4
วัน จึงนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง
ยุ้งฉางที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
2. อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การใช้ลวดตาข่ายกั้นให้มีร่องระบายอากาศกลางยุ้งฉางจะช่วยให้การถ่ายเทอากศดียิ่งขึ้น
คุณภาพเมล็ดข้าวจะคงสภาพดีอยู่นาน
3. อยู่ใกล้บริเวณบ้านและติดถนน สามารถขนส่งได้สะดวก
4. เมล็ดข้าวที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์
ต้องแยกจากเมล็ดข้าวบริโภค โดยอาจบรรจุกระสอบ มีป้ายบอกวันบรรจุ
และชื่อพันธุ์แยกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งในยุ้งฉาง เพื่อสะดวกในการขนย้ายไปปลูก
5. ก่อนนำข้าวเข้าเก็บรักษา
ควรตรวจสภาพยุ้งฉางทุกครั้ง ทั้งเรื่องความะอาดและสภาพของยุ้งฉาง
ซึ่งอาจมีร่องรอยของหนูกัดแทะจนทำให้นกสามารถรอดเข้าไปจิกกินข้าวได้
รูหรือร่องต่าง ๆ ที่ปิดไม่สนิทเหล่านี้ต้องได้รับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน
ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/407373
นายจักรมนตรี ชนะพันธ์ HI 56010112509 ระบบปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น